หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ทศนิยมและเศษส่วน

ค่าประจำหลักของทศนิยม



การเปรียบเทียบทศนิยม

การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นบวกว่า ให้เปรียบเทียบ จำนวนเต็มก่อน ถ้าจำนวนเต็มเท่ากันให้เปรียบเทียบเลขโดดในตำแหน่งเดียวกัน คู่แรกที่ไม่เท่ากัน เช่น
           1) ต้องการเปรียบเทียบ 28.34 กับ 21.35
               เนื่องจาก 28 > 21 
               ดังนั้น 28.34 > 21.35
           2) ต้องการเปรียบเทียบ 9.31 กับ 9.72
                เนื่องจาก จำนวนเต็มเป็น 9 เท่ากัน จึงพิจารณาตัวเลขคู่แรกในตำแหน่งเดียวกัน ที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง ได้แก่ 3 และ 7 ซึ่ง 3 < 7
                ดังนั้น 9.31 < 9.72 หรือ 9.72 > 9.31
           3) ต้องการเปรียบเทียบ 0.567 กับ 0.569 เนื่องจาก เลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน คือ เลขโดดในทศนิยมตำแหน่งที่สาม ได้แก่ 7 กับ 9 ซึ่ง 7 น้อยกว่า 9หรือ 9มากกว่า 7
                ดังนั้น 0.567 < 0.569 หรือ 0.569 > 0.567


การบวกทศนิยม


ตัวอย่าง  จงหาผลบวก 24.37 + 31.541

            วิธีทำ     24.37 + 31.541 = 24.370 + 31.541

                                             24.370 + 

                                             31.541 

                                             55.911 

            ดังนั้น 24.37 +31.541 = 55.911

             ตอบ ๕๕.๙๑๑


สรุปได้ว่า 
การบวกทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นบวกให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนบวก
ตัวอย่าง   จงหาผลบวก (-3.79) + (-9.32)

             วิธีทำ                  -3.79 +
                                   
                                         -9.32

                                       -13.11
               ตอบ   -๑๓.๑๑


สรุปได้ว่า

การบวกทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นลบให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนลบ


ตัวอย่าง   จงหาผลบวก (-37.246) + 24.91
             
             วิธีทำ                 -37.246 +
 
                                         24.910

                                        -12.336

               ตอบ  -๑๒.๓๓๖

สรุปได้ว่า 

การบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นบวกกับทศนิยมที่เป็นลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าลบด้วยค่าสัมบูรณ์ที่น้อยกว่า แล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือจำนวนลบตามจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า

การลบทศนิยม

ถ้า a เป็นทศนิยมใดๆ จำนวนตรงข้ามของ a มีเพียงจำนวนเดียวเขียนแทนด้วย -a และ

          a + (-a) = (-a) + a = 0

ถ้า a เป็นทศนิยมใดๆ จำนวนตรงข้ามของ -a คือ a และเขียนแทนด้วย -(-a) = a

               บทนิยามการลบ : ตัวตั้ง - ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ

      เช่น        3.76 - 2.55 = 3.76 + (-2.55)

                  (-7.92) - 4.07 = (-7.92) + (-4.07)

                 (-12.43) - (-10.71) = (-12.43) + 10.71

                    88.75 - (-46.39) = 88.75 + 46.39

การคูณทศนิยม

การคูณทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นบวก จะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นบวก และมีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของ 2 จำนวนนั้น

ตัวอย่าง  จงหาผลคูณ (-3.45)×(-0.017)

                วิธีทำ                  345 ×

                                             17

                                         2415

                                         345

                                         5865

                 ดังนั้น  (-3.45)×(-0.017)  =  0.05865

สรุปได้ว่า

การคูณทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นลบ จะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นบวก และมีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

การคูณทศนิยมที่เป็นบวกด้วยทศนิยมที่เป็นลบ จะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นลบ และมีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

การคูณทศนิยมที่เป็นลบด้วยทศนิยมที่เป็นบวก จะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นลบและมีค่าสัมบูรณ์เท่ากับผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของสองจำนวนนั้น

เศษส่วน

บทนิยาม   เศษส่วนเป็นจำนวนที่เขียนอยู่ในรูป เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มโดยที่ b ไม่เท่ากับศูนย์ เรียก a ว่า "ตัวเศษ" เรียก b ว่า "ตัวส่วน"




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น